วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การกระเจิงของแสง

การกระเจิง

     ปรากฏการณ์ที่เป็นผลมาจากการกระทบกันของอนุภาคต่ออนุภาค อนุภาคกับแสง หรือการแผ่รังสีใด ๆ ต่ออนุภาค เช่น การกระเจิงของโปรตอน โดยโปรตอน การกระเจิงของนิวตรอนโดยนิวเคลียส
    สำหรับการกระเจิงของแสง เกิดขึ้นเมื่อลำแสงเคลื่อนที่ผ่านหรือเข้าไปในตัวกลางที่มีเนื้อหาร การกระเจิงของแสงจะเกิดขึ้นได้ 2 วิธี คือ
1.       โดยการสะท้อนอย่างไม่มีระเบียบ
2.       โดยการเลี้ยวเบน

สีของท้องฟ้า
          สีของท้องฟ้าเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ตอนกลางวันท้องฟ้าเป็นสีฟ้า ส่วนตอนเช้าและตอนเย็นท้องฟ้าเป็นสีส้มแดง ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะ “การกระเจิงของแสง” (Scattering of light) คลื่นแสงแต่ละสีมีขนาดความยาวคลื่นไม่เท่ากัน เมื่อตกกระทบโมเลกุลของอากาศ ก็จะเกิดการกระเจิงของแสงที่แตกต่างกันออกไป คล้ายกับการที่คลื่นของน้ำเมื่อกระแทกกับเขื่อน ถ้าขนาดของคลื่นเล็กกว่าเขื่อน (<d) คลื่นก็จะกระเจิงหรือสะท้อนกลับ แต่ถ้าขนาดของคลื่นใหญ่กว่าเขื่อน (>d) คลื่นก็จะเคลื่อนที่ข้ามเขื่อนไปได้ 

http://portal.edu.chula.ac.th/lesa_cd/assets/document/LESA212/6/scattering/scattering.html
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2



การกระเจิงของแสง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น